ศิลปะการตอบโต้และศิลปะการรับ มวยไทย

กีฬามวยไทยนั้นเป็นกีฬาที่มีทักษะการเล่นและศิลปะอยู่หลายด้านจึงต้องใช้การฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญในวันนี้เราจะยกตัวอย่าศิลปะด้านการตอบโต้ในกีฬามวยไทยมาเขียนเป็นบทความให้เพื่อนๆที่สนใจได้ลองศึกษาและในไปประกอบการฝึกได้

ศิลปะการตอบโต้นั้น คือ การใช้ไม้มวยโต้กลับคู่ต่อสู้ ด้วยวิธีการต่างๆ โดยมีดังต่อไปนี้

  1. ถอยแล้วตอบโต้ คือ การใช้ไม้มวยตอบโต้กับทันทีหลังถอยหลบพ้นระยะไม้มวยที่ตู่โจมมาแล้ว
  1. การหลบหลีกแล้วตอบโต้ คือการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อหลบให้พ้นระยะไม้มวยของคู่ต่อสู้ โดยจะเป็นการก้มตัว การเอนตัว การย่อขา
  1. การชิงทำแล้วตอบโต้ คือ การใช้ไม้มวยตอบโต้คู่ต่อสู้ที่รุกใส่เรา โดยต้องทำให้ไม้มวยเราถึงตัวเป้าหมายก่อน
  1. การปิดป้องแล้วตอบโต้ คือ การใช้ส่วนที่แข็งแรงของร่างกาย มาป้องกันจุดที่คู่ต่อสู้จะจู่โจม ส่วนมากจะเป็นบริเวณจุดอ่อนของร่างกาย เช่น ท้อง ขาพับ ลิ้นปี่ ใบหน้า คอ หน้าอก ปลายคาง
  1. การปัดให้เบี่ยงเบนออกไปจากไม้มวยของคู่ต่อสู้ คือ การใช้มือหรือแขนของตนเองปัดไม้มวยของคู่แข่งออก
  1. การทำให้ล้ม คือ การจับทุ่มด้วยสะโพก หรือ การบังเกาะจับ และมีอีกหลายวิธีแต่ต้องเป็นไปตามกติกา

ศิลปะการรับ มวยไทย

นอกจากจะมีศิลปะด้านการรุกแล้วก็จำเป็นต้องมีศิลปะการรับเช่นกัน ศิลปะด้านนี้จะใช้เพื่อป้องกันการจู่โจมของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเพื่อๆที่อยากเรียนไปเพื่อป้องกันตัวทักษะนี้นั้นสำคัญอย่างยิ่งเพราะต้องใช้สายตาในการสอดส่องเพื่อหลบการโจมตีของคู่ต่อสู้จะมีรูปแบบอย่างไรลองมาศึกษากันได้เลย

ไม้รับ คือการนำเอาวิชามวยมาแก้การจู่โจมจากไม้มวยอีกฝ่าย หรือจะแก้ทางการจู่โจมรูปแบบอื่นก็ ไม้รับนี้จะบอกถึงการรับไม้มวยของคู่ต่อสู้ทีละชนิด โดยเริ่มตั้งแต่รับการต่อย การเตะ และอื่นๆ โดยอาศัยทักษะต่างๆอย่างเช่น หลบหลีก ปัดป้อง ถอย ด้วยไม้มวยดังนี้

  1. การหลอกล่อ คือ การเคลื่อนไหวร่างกายให้คู่ต่อสู้เดาทางไม่ได้ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
  • หลอกด้วยสายตา โดยมองที่ต่ำแต่ใช้ไม้มวยสูง หรือจะทำสลับกันก็ได้
  • หลอกด้วยศีรษะ โดยเคลื่อนไหวศีรษะไปมาซ้ายขวา เพื่อให้คู่ต่อสู้สับสน
  • หลอกด้วยการเคลื่อนไหวลำตัว โดยอาศัยความอ่อนตัวโยกเอวและลำตัว
  1. การถอยจากระยะ คือการถอยให้ห่าง และพ้นจากระยะมวยของคู่ต่อสู้ และท่าต้องพร้อมที่จะโต้ตอบกลับไปได้ด้วย
  1. การโยกหรือเอนตัวหลบจากระยะ วิธีนี้นั้นก็ตรงตามชื่อวิธีเลยคือไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่มากเกินไป
  1. การหลบหลีก
  2. การปัดให้เบี่ยงออก
  3. การปัดป้อง
  4. การบังเกาะจับ